ฝังเข็มลดนความอ้วน
- 4 ก.พ. 2564
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 12 ธ.ค. 2566

ฝังเข็มลดความอ้วน
โรคอ้วนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.โรคอ้วนทั่วไป คิดเป็น 95% และ 2.โรคอ้วนที่มีสาเหตุจากโรคอื่น 5 %

1.โรคอ้วนทั่ว:ไปเกิดจากพันธุกรรม หรือ การที่ได้รับสารอาหารมากเกินไป โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะอ้วนทั้งตัว ไขมันในร่างกายมีการกระจายตัวและสะสมอย่างละเท่าๆ กัน มักไม่พบปัญหาเกี่ยวกับระบบฮอร์โมนไม่สมดุล หรือ ไม่มีโรคที่เกี่ยวกับการเผาผลาญ(เมตาบอลิซึม) และมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน
2.โรคอ้วนที่มีสาเหตุจากโรคอื่น:ส่วนใหญ่มักเกิดจากระบบฮอร์โมนและการเผาผลาญที่ไม่สมดุล เช่น การใช้กลูโคคอร์ติคอยด์เป็นระยะเวลานาน ถ้ามีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์มากเกินไป จะทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน เพิ่มความอยากอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีการสะสมไขมันบริเวณแกนกลางของลำตัว เช่น ใบหน้าทำให้หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ (moon face) เป็นต้น

แพทย์แผนจีนกับการลดความอ้วน
โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้การฝังเข็มร่วมกับการฝังเข็มหู(หรือใช้เม็ดผักกาดแปะที่หู)
1.การฝังเข็ม: แพทย์แผนจีนจะเลือกจุดฝังเข็มบริเวณหน้าท้อง และจุดฝังเข็มบนเส้นลมปราณม้ามและกระเพาะที่บริเวณแขนและขา ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และเทคนิคของแพทย์แต่ละคน
2.การฝังเข็มหู: ใบหูของคนเรานั้นก็มีจุดลมปราณมากมาย ซึ่งจุดลมปราณบนใบหูก็สามารถใช้รักษาอาการต่างๆ เช่น จุดคุมความหิว จุดฮอร์โมน จุดกระเพาะ เป็นต้น แพทย์จะใช้การฝังเข็มที่บริเวณหูหรือใช้เม็ดผักกาดแปะที่จุดลมปราณต่างๆบนใบหู

ระยะเวลาการรักษา
การฝังเข็มลดน้ำหนักนั้นสามารถทำได้วันเว้นวัน 1 เดือน 15 ครั้ง นับเป็นหนึ่งคอร์สการรักษา
ในหนึ่งเดือนแรกเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัว และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะสร้างจุดสมดุลของการเผาผลาญขึ้นมาใหม่ ในช่วงเวลานี้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวจะยังไม่เด่นชัด แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในการกระจายตัวของเซลล์ไขมัน การฝังเข็มลดน้ำหนักจะเห็นผลชัดเจนหลังจากรักษาแล้ว 1-2 เดือน ดังนั้นผู้ป่วยควรมีความอดทนในการรักษา รักษาอย่างต่อเนื่องและไม่รีบร้อนเกินไป
ผู้ป่วยโรคอ้วนส่วนใหญ่มักมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ การนอกจากช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักแล้ว ยังช่วยปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ ผลลัพธ์ในการฝังเข็มลดน้ำหนักมีการสะสม ผู้ป่วยหลายรายถึงแม้จะหยุดรักษาไปแล้วแต่น้ำหนักยังคงลดลงได้อีกในช่วงเวลาหนึ่ง
บทความ: พจ.ณัฐวรรธน์ มณีรัตน์
อ้างอิง:案例导读 针灸治疗学 ISBN 978-7-5478-2347-7;针灸治疗学 ISBN 978-7-117-22478-9
Comments