เราควรขับถ่ายวันละกี่ครั้ง?
- Nattawat Maneerat
- 8 มี.ค. 2564
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 12 ธ.ค. 2566

อาการท้องผูก
หลายคนมักคิดว่าการขับถ่ายที่ดี ควรขับถ่ายอย่างน้อยวันละครั้ง แต่จริงๆแล้วทุกคนล้วนมีพฤติกรรมและความถี่ในการถ่ายอุจจาระที่แตกต่างกัน บางคนถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง บางคนถ่ายสองวันครั้ง ซึ่งทั้งสองก็ยังถือว่าเป็นการขับถ่ายที่ปกติ แต่เมื่อไหร่ที่
- รอบในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป เช่น จากถ่ายวันละครั้งเป็น 3 วันครั้ง
- อุจจาระมีลักษณะแข็ง ถ่ายไม่ออก หรือ ถ่ายลำบาก
- อุจจาระไม่แข็ง รู้สึกอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก
หากคุณมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง จะเป็นสัญญาณของอาการท้องผูก
ในทางแพทย์แผนจีนได้แบ่งงสาเหตุของอาการท้องผูกออกเป็นหลายประเภท เช่น อาการท้องผูกจาก
· ความร้อน หรือ ความเย็นมากเกินไป
· ลมปราณติดขัด ลมปราณบกพร่อง
· เลือดน้อย
· หยิน หรือ อยางบกพร่อง
ซึ่งอาการท้องผูกในแต่ละประเภท จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน และมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน เช่น
· อุจจาระแข็ง แน่นท้อง ปากแห้งคอแห้ง มีกลิ่นปาก ตัวร้อน เหงื่อมาก ขี้หงุดหงิด ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม มักจะเป็นอาการผูกที่เกิดจาก ความร้อน
· อุจจาระไม่แข็งตัว รู้สึกอยากถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก ต้องใช้แรงเบ่งมาก หลังจากถ่ายมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เป็นอาการท้องผูกที่เกิดจาก ลมปราณบกพร่อง
· อุจจาระเป็นแข็งเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายอุจจาระแกะ มือเท้าร้อน เหงื่อออกตอนนอน เป็นอาการท้องผูกที่เกิดจากภาวะ หยินบกพร่อง
จะเห็นได้ว่าแพทย์แผนจีนนั้นได้แยกอาการท้องผูกออกอย่างละเอียด การรักษานั้นนิยมใช้ ยาจีน และการฝังเข็ม การใช้ยาจีนจำเป็นจะต้องแยกประเภทของอาการท้องผูกให้ชัดเจนก่อน ส่วนการฝังเข็มนั้นนิยมใช้จุดฝังเข็มหลัก คือ
· จุดเทียนชู (天枢) อยู่บริเวณข้างสะดือ เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้
· จุดจือโกว (支沟) อยู่บริเวณแขน เป็นจุดที่ใช้รักษาอาการท้องผูกโดยเฉพาะ
· จุดช่างจู้ชู (上巨虚) และ จุดจู๋ซานหลี่ (足三里) อยู่บริเวณหน้าแข้ง เป็นจุดที่เกี่ยวกับลำไส้ใหญ่และกระเพาะ
โดยสรุป ถ้าหากเราถ่ายอุจจาระ 2-3 วันต่อครั้ง เป็นปกติอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะเป็นโรคท้องผูก แต่หากว่ารอบในการถ่ายอุจจาระนานขึ้น หรือ อุจจาระแข็ง ถ่ายลำบาก หรือ รู้สึกอยากถ่าย แต่ถ่ายไม่ออก หากมีอาการเหล่านี้ ก็ควรหันมาใส่ใจและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
Comments